วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

นศ.โทธรรมศาสตร์ รัฐธรรมนูญใหม่ยึดหลัก 40 วอนคืนอำนาจสู่มือประชาชน สว.สรรหาไม่เหมาะสม แนะแกนหลักสำคัญของรัฐธรรมนูญคือประชาชน


หลังจากที่มีการประชุม สสร. เพื่อวางแนวทางการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยเนื้อหาว่าด้วย 3 กรอบหลักคือ กรอบสิทธิและเสรีภาพ สถาบันการเมือง และ องค์กรตรวจสอบอิสระและศาล ซึ่งมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานในที่ประชุม ในส่วนของการวางกรอบในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ทางด้าน นายชวนะ เกียรติชวนะเสวี นักศึกษาปริญญาโท ธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองการปกครอง ให้สัมภาษณ์หลังเข้าร่วมรับฟังการอภิปราย กรอบรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ปี 50 ว่าหลังเข้าร่วมรับฟังการอภิปรายยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 50 โดยความคิดเห็นในส่วนตัวแล้ว ยังมีความเห็นว่า รัฐธรรมนูญปี 40 เป็นรัฐธรรมนูญที่เหมาะสมที่สุดและเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชนโดยแท้จริง ซึ่งทุกขั้นตอนของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้อย่างสมบูรณ์
ซึ่งส่วนสำคัญมีความเห็นว่า รัฐฯมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอธิบายทุกขั้นตอนให้กับประชาชนทราบ รับรู้ข้อมูลทุกขั้นตอน ไม่ใช้ให้ประชาชนแค่ร่วมร่างรัฐธรรมนูญนั้น แต่ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในรัฐธรรมนูญในทุกขั้นตอน ไม่ใช่แค่ร่วมอย่างที่ผ่านมา และประชาชนคือผู้ตั้งโจทให้กับรัฐฯหาคำตอบ ไม่ใช้รัฐเป็นผู้ตั้งโจทแล้วโยนให้ให้ประชาชนหาคำตอบเอาเอง ซึ่งก็ไม่ทราบว่าคำตอบนั้นจะออกมาในทางใด รัฐฯมีอำนาจเต็มที่ในการวางกรอบบริหารประเทศ ซึ่งที่ผ่านมารัฐไม่ค่อยสนใจในเสียงของประชาชน ประชาชนไม่ค่อยมีส่วนร่วม เพราะประชาชนไม่เข้าใจบทบาทและหน้าที่ ว่าการเลือกตั้งมีความสำคัญอย่างไร มีผลกระทบต่อบ้านเมืองมากน้อยเพียงใดหากไม่ใช่สิทธิของตนเอง สส.มีหน้าที่อะไร สว.มีความสำคัญอย่างไร นายกฯมีบทบาทหน้าที่ตรงไหนบ้าง สิ่งต่างๆเหล่านี้คือหน้าที่ของรัฐฯที่จะต้องเติมเต็มและสร้างแนวทางให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ อธิบายเหตุผลหลักการทุกขั้นทุกตอน ให้ประชาชนตระหนักในบทบาทและหน้าที่ของตัวเอง ปลูกจิตสำนึกในการเป็นบุคลากรของชาติ ในการทำหน้าที่เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย แกนหลักสำคัญของประชาธิปไตยอยู่ที่ประชาชน หากประชาชนเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตัวเอง หากประชาชนได้ใช้สิทธิของตนเองได้อย่างครบถ้วน เชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าประชาธิปไตยในบ้านเมืองของเราจะเดินหน้าต่อไป
ในส่วนของกรอบทั้ง 3 ข้อหลักนั้นมองว่าในส่วนนี้เป็นแค่ปัจจัยย่อยๆในระบอบประชาธิปไตยมากกว่า การที่รัฐฯจะกำหนดรัฐธรรมนูญออกมาอย่างไร หลักการสำคัญคือรัฐฯจะทำอย่างไรให้ประชาชนเข้าใจในรัฐธรรมนูญ เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตัวเอง เข้าใจหลักการในระบอบประชาธิปไตย และไปใช้สิทธิในการเลือกตั้ง ซึ่งการเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรมและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ประชาชนตระหนักในความสำคัญในการใช้สิทธิที่มีขอตนเองชี้นำอนาคตของชาติ ซึ่งนี้เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่รัฐบาลจะต้องทำความเข้าใจและใส่ใจให้มากขึ้น เข้าใจประชาชนให้มากขึ้น โดยส่วนตัวเห็นว่า วันนี้ประชาธิปไตยกำลังถูกคุกคามกำลังถูกทำลาย จุดเริ่มต้นของประชาธิปไตยเมื่อปี 2475 เป็นมาอย่างไรเราคงต้องย้อนกลับไปดูและเรียนรู้กันใหม่อีกครั้ง เพราะประชาธิปไตยเกิดขึ้นเองตามแนวทางตามระบบ เช่นนักเรียนทุกคนเด็กทุกคนเรียนรู้ประชาธิปไตยตั้งแต่แรกเริ่มเข้าเรียน คือการเลือกหัวหน้าชั้นด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเลือกคนดีหรือไหมนั้นไม่สำคัญ แต่ระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นและกำลังพัฒนาไปด้วยตัวเอง ตามแนวทางที่ถูกต้อง เพราะวันนั้นอาจารย์เป็นผู้มอบอำนาจสู่นักเรียนให้เลือกหัวหน้าชั้นกันเอง ผลออกมาอย่างไรก็ย่อมเป็นที่ยอมรับ แต่วันนี้กลับกัน ครูประจำชั้นกลับเดินเข้าบอกว่า ที่เลือกหัวหน้าชั้นกันเองนั้นไม่เหมาะสมไม่ถูกต้อง ต่อไปนี้ครูจะเป็นผู้กำหนดเองและเลือกหัวหน้าชั้นเอง แล้วต่อไปประชาธิปไตยในชั้นเรียนก็จะถูกทำลาย เพราะไม่ว่าใครจะเป็นหัวหน้าชั้น ครูก็คือผู้มีอำนาจสิทธิขาดอยู่ดี เราจะพัฒนาไปข้างหน้าให้มากแค่ไหน ก็ยิ่งต้องย้อนกลับไปดูอดีตให้มากยิ่งขึ้นเท่านั้น เปรียบเหมือนกับการยิงธนูยิงดึงกลับมากเท่าไหร่ ก็จะยิงไปข้างหน้าได้ไกลมากยิ่งขึ้น สิ่งที่ต้องเพิ่มเติมลงไปในรัฐธรรมนูญฉบับนี้มากที่สุด ควรมีบทบัญญัติว่าด้วยจริยธรรมและคุณธรรมของนักการเมือง และข้าราชการรวมทั้งบทกำหนดโทษ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐฯต้องผลักดันให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆได้ง่ายขึ้น ไม่ใช่แค่เพียงร่างหลักการไว้ แต่ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง จะต้องเปิดช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ประชาชนสามารถถอดถอนบุคคลนั้นๆทางการเมืองที่ประพฤติปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบได้ง่ายขึ้น ไม่ใช้บอกว่า 50,000 รายชื่อสามารถถอดถอนนายกฯได้ แต่ทำเข้าจริงไม่สามารถทำได้อย่างนี้เป็นต้น จำเป็นต้องมีองค์กรเข้ามาทำงานร่วมกับประชาชน ให้ความสำคัญกับประชาชนเป็นหลัก รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงจะสมบูรณ์และเป็นที่ยอมรับ สสร.มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจบทบาทของตัวเอง และเข้าใจในบทบาทของประชาชน เคารพหลักการสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และร่างรัฐธรรมนูญตามความเห็นชอบของคนส่วนรวม ของประชาชนไม่ใช่ความเห็นชอบของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น เพราะแก่นแท้ของรัฐธรรมนูญอยู่ที่ประชาชนนายชวนะกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น