วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รองหอฯภูเก็ต เรียกร้องรัฐฯหันมองภูเก็ตอย่างจริงจังแนะผลักดันเป็น เมืองท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ


 หลังเข้าร่วมประชุมที่ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ในส่วนของยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดภูเก็ต โดยตังแทนจากองค์กรต่าง เข้าร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพัฒนาและผลักดันยุทธศาสตร์จังหวัดภูเก็ต
          นายชวนะ เกียรติชวนะเสวี รองประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต ให้สัมภาษณ์ถึงประเด็นในประชุมวันนี้ว่า ในที่ประชุมมีการพูดถึง การพัฒนาโครงการอ่าวภูเก็ต โดยทางภาครัฐให้ความเห็นว่า การพัฒนาโครงการอ่าวภูเก็ต โดยใช้งบประมาณกว่า 1.3 แสนล้านบาทนั้น อาจจะเป็นไปในลักษณะของการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน หรืออาจะเป็นไปในส่วนของเอกชนเข้าลงทุนทั้งหมด ซึ่งในส่วนของ โครงสร้างขั้นพื้นฐาน มีการวางแผนไว้ว่าจะนำน้ำประปามาจากเขื่อนเชี่ยวหลาน และวางระบบไฟฟ้าจากเขื่อนเชี่ยวหลานเช่นกัน  โดยทางรัฐฯยังไม่สามารถลักดันโครงสร้างขั้นพื้นฐานอย่างเต็มระบบได้เนื่องจากขาดงบประมาณ ซึ่งเป็นไปได้ว่าเอกชนจะเข้ามาดำเนินการใน ส่วนนี้ทั้งหมด เมื่อโครงการอ่าวภูเก็ตเดินหน้าไปได้
          โดยความเห็นส่วนตัวมองว่า รัฐฯไม่มีความจริงใจในการพัฒนาจังหวัดภูเก็ต เท่าที่ควรทั้งที่จังหวัดภูเก็ตทำรายได้เข้ามาประเทศ ได้มากกว่า 1.5 แสนล้านบาท/ปี ก่อนเกิดคลื่นยักษ์นามิ แต่หลังจากนั้นก็ยังทำรายได้มากกว่า 7.5-8.5 ล้านบาท/ปีเข้าสู่รัฐฯ ซึ่งเป็นเงินรายได้หลักมาจากการท่องเที่ยว ซึ่งตนเองพยายามอย่างยิ่งในการเรียกร้อง ถึงระบบโครงสร้างขั้นพื้น ที่รัฐบาลจะต้องมีบทบาท ในการผลักด้นอย่างเต็มที่คืนให้กลับจังหวัดภูเก็ต ทั้งในเรื่องของน้ำประปา ไฟฟ้า คมนาคม การขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ เราจะพัฒนาจังหวัดภูเก็ตอย่างไรในเมื่อไฟฟ้ายังไม่มีกำลังเพียงพอและเพียงพอต้องความต้องการ บริโภคของประชาชน เราจะพัฒนาภูเก็ต ให้เป็นเมืองไอทีได้อย่างไร เมื่อหลักการนั้นยังไม่เกิดขึ้น โครงสร้างด้านนี้ยังมีความอ่อนแอ ทั้งในส่วนของไฟฟ้ายังดับยังตกอยู่เลย ซึ่งจะมีแต่ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นตามมา เราคงจะต้องย้อนกลับไปมองว่าจังหวัดภูเก็ต เป็นอยู่ เป็นมา และจะเป็นไปอย่างไร เราต้องให้ความ สำคัญกับการพัฒนาที่ตรงต่อความต้องการของพี่น้องประชาชน ยิ่งกว่านั้นปัญหาการพัฒนามาพร้อมกับการขยายตัวของชุมชนเมือง มีขยะเพิ่มสูงขึ้นแน่นอน เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่จะต้องมีการศึกษาและพิจารณาอย่างรอบคอบ  ปัจจุบันนี้เตาเผาไม่สามารถรองรับขยะ ที่มีมากขึ้นได้ ซ้ำยังยังมีการฝังกลบที่ไม่ถูกต้องส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์  เราคงต้องย้อนมาคิดกันแล้วว่าเราจะต้องทำ อย่างไรกับอนาคต ที่จะมาพร้อมกับการพัฒนาและการขยายตัวของชุมชนเมือง เราจะจัดการกับขยะอย่างไร ระบบสาธารณูปโภคจะเพียงพอต่อความต้องการหรือไม่ พลังงานที่มีแน่นอนจะต้องหมดไป กับการบริโภคของประชาชน เราพร้อมหรือยัง ที่จะเผชิญกับปัญหาหาเหล่านั้น  เราคงต้องให้ส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ทั้งภาคเอกชน นักลงทุน ชาวภูเก็ตทุกคนต้องถึงความเป็นเจ้าของบ้าน ร่วมกันวางกรอบการพัฒนาที่เรา จะได้รับผลกระทบ โดยส่วนตัวมองว่าจำต้องมีการทำการศึกษาผลกระทบในวงกว้าง เพื่อให้ทราบถึงข้อเท็จจริงทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ ยกตัวอย่างเช่นหากการพัฒนาโครงการอ่าวภูเก็ต เปรียบเสมือนการสร้างเมืองใหม่ สิ่งที่จะได้รับผลกระทบแน่นอน ก็คงหนีไม่พ้นธุรกิจต่างที่อยู่ในพื้นที่เดิม หรือเราทุกคนอาจจะตกเป็นบุคคลชายขอบ ไม่ได้รับการเอาใจใส่จากหน่วยงานที่เกี่ยว ก็คงหนีไม่พ้น รูปแบบการเขตเศรษฐกิจพิเศษ ตรงนี้รัฐบาลต้องมีความชัดเจนในหลักการและแนวทางการพัฒนาเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบในอนาคต
        ในส่วนของปัญหาเศรษฐกิจที่มีการพูดถึงในที่ประชุม กรณีโซ่ห่วยนั้น เรื่องนี้รัฐบาลต้องเพิ่มมาตรการทางการค้าแก่นักลงทุนต่างชาติ บ้างเพื่อให้ ผู้ค้ารายย่อยและนักลงทุนภายในประเทศสามารถต่อสู้และแข่งขันกันทางการค้าได้อย่างเสรี โดยเฉพาะต้องเร่งผลักดัน พ.ร.บ.ค้าปลีกให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว เพื่อให้วีถีการค้าของคนไทยคงอยู่ต่อไป
          ในอีกเรื่องคงจะต้องพูดถึงคือกรณีของก๊าซ NGV โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตนั้นทราบว่ามีการเปิด ให้บริการของปั๊มประเภทนี้ น้อยมากและไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงอยากฝากไปถึงรัฐบาลเร่งผลักดันให้มีการเปิดให้บริการปั๊มเหล่านี้เพิ่มขึ้น และครอบคลุมเพียงพอ เพื่อรองการใช้พลังงานทางเลือกใหม่ ทั้งช่วยลดต้นทุนการผลิตและขนส่ง ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าครองชีพของพี่น้องประชาชน ลงไปได้อย่างมาก นายชวนะกล่าว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น